Rafale ประสบอุบัติเหตุตกเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี

วัน ที่ 6 ธันวาคมที่ผ่านมา เครื่องบินขับไล่ Rafale B ของฝรั่งเศส ประสบอุบัติเหตุตกเป็นครั้งแรกนักตั้งแต่เข้าประจำการ

Rafale B ซึ่งเป็นรุ่นสองที่นั่งลำนี้ บินโดย Captian Emmanuel Moriuser ซึ่งเป็นผู้บังคับฝูงบิน Rafale ที่มีประสบการณ์และความสามารถในการบินกับ Rafale มากที่สุด เครื่องบินกำลังฝึกยุทธวิธีการลาดตระเวนกับเครื่องอีกลำหนึ่ง และตกลงมาในแนวดิ่งจากความสูง 4 กม. เหนือพื้นดิน ทำให้มีความเร้วตอนกระทบพื้นสูงถึง 900 กม./ชม. และฝังศพนักบินลงในพื้นดินลึกกว่า 10 เมตร ไม่มีการงานการสื่อสารหรือความพยายามในการดีดตัวออก และยังไม่พบกล่องบันทึกข้อมูลการบิน

ทั้งนี้ การตกครั้งนี้เป็นการตกครั้งแรกของ Rafale ของฝรั่งเศส ซึ่งเข้าประจำการในปี 2004

[ภาพ Le capitaine Emmanuel MORIUSER]




Rafale M เตรียมฝึกกับกองทัพเรือสหรัฐ

ด้วย เหตุที่เรือบรรทุกเครื่องบินลำเดียวของฝรั่งเศสคือ Charles de Gaulle จำต้องเข้ารับการซ่อมบำรุงครั้งใหญ่ ซึ่งต้องใช้เวลา 18 เดือน ทำให้กองทัพเรือฝรั่งเศสวางแผนที่จะส่งฝูงบิน Rafale M รุ่นปฏิบัติการจากเรือบรรทุกเครื่องบินเข้าร่วมฝึกกับกองทัพเรือสหรัฐบนเรือ USS Roosevelt ในมหาสมุทรแอตแลนติกในปี 2008 โดยจะใช้ Rafale M จำนวน 6 - 8 ลำ และ E-2C Hawkeye อีก 2 ลำในการวางกำลังการฝึกในเรือ USS Roosevelt

นับ เป็นครั้งแรกที่กำลังทางอากาศของกองทัพเรือสหรัฐและกองทัพเรือฝรั่งเศสจะ ปฏิบัติการร่วมกันบนเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐ และแผนการนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากประธานาธิปดี Nicolas Sarkozy ซึ่งมองว่าจะช่วยกระชับความสัมพันธ์กับสหรัฐ หลังมีปัญหากันนับตั้งแต่สหรัฐบุกอิรักครั้งที่สอง

ทั้งนี้ Rafale M เคยลงจอดและบินขึ้นจากเรือบรรทุกเครื่องบิน USS Enterprise ในทะเลเมติเตอร์เรเนียน เมื่อวันที่ 23 กันยายนที่ผ่านมา






Eurofighter Tranche 2 ประสบความสำเร็จในการบินทดสอบ


ในวัน ที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมา Eurofighter Typhoon รหัส IPA6 ซึ่งได้รับการปรับปรุงตามมาตราฐาน Tranche 2 ประสบความสำเร็จในการขึ้นบินทดสอบเป็นเวลา 54 นาทีในประเทศอังกฤษ

มาตรา ฐาน Tranche 2 จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของ Typhoon เมื่อเทียบกับ Tranche 1 ที่ถูกผลิตออกมาก่อนหน้านี้ โดยจะเปลี่ยนคอมพิวเตอร์ควบคุมภารกิจใหม่ (Mission Computer) เพื่อเพิ่มความเร็วในการประมวลผลและเพิ่มหน่วยความจำ ซึ่งจะทำให้สามารถติดตั้งอาวุธปล่อยได้หลากหลายมากขึ้นเช่น อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง Meteor จรวดร่อน Strom Shadow และ Taurus KEPD 350 เป็นต้น

เมื่อเสร็จสิ้นการทดสอบ Eurofighter ที่ถูกผลิตตามมาตราฐาน Tranche 2 จะพร้อมเข้าประจำการภายในไม่เกินครึ่งปีแรกของปี 2008 จะถูกกำหนดรุ่นเป็น Block 8 และจะผลิตส่งมอบให้กับ 4 ชาติคืออังกฤษ เยอรมัน อิตาลี และสเปนจำนวน 251 ลำ




ซาอุดิอารเบียสั่งซื้อ Eurofighter จำนวน 72 ลำ

หลังจากประสบความสำเร็จในการส่งออก Typhoon ให้กับลูกค้าชาติแรกคือออสเตรียจำนวน 15 ลำ กลุ่มประเทศผุ้ผลิตก็ประสบความสำเร็จในการส่งออก Typhoon ให้กับลูกค้าชาติที่สองคือซาอุดิอารเบีย

ใน Project Salam ซาอุดิอารเบียได้เลือก Typhoon เป็นผู้ชนะในการจัดหาเครื่องบินรบจำนวน 72 ลำมูลค่า ราว 9 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยเครื่องบิน 24 ลำแรกจะถูกประกอบในกลุ่มประเทศผู้ผลิต ส่วนที่เหลืออีก 48 ลำจะถูกประกอบในซาอุดิอารเบีย

ทั้งนี้ สัญญามูลค่า 9 พันล้านเหรียญสหรัฐเป็นเพียงการจัดซื้อ "เครื่องบินตัวเปล่า" เท่านั้น ซึ่งถ้ารวมการจัดหาอาวุธ อุปกรณ์สนับสนุน อะไหล่ การฝึก และค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งโรงงานประกอบในซาอุดิอารเบีย จะทำให้มูลค่าของสัญญาโดยรวมพุ่งขึ้นไปถึง 6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐในระยะเวลา 30 ปี และมีความเป็นไปได้ที่ซาอุดิอารเบียอาจจะสั่งซื้อเพิ่มอีก 24 ลำ เนื่องจากจะต้องปลดประจำการเครื่องบินรบเก่าเพิ่มขึ้น

ซึ่งถ้าเป็น ความจริง อาจจะทำให้จำนวนการผลิตของ Typhoon ทั้งหมดที่จะผลิตให้กับ 6 ชาติในปัจจุบันอยู่ที่ราว 730 ลำ




เครื่องบินต้นแบบ F-35 JSF ขึ้นบินอีกครั้ง

หลังจากประสบปัญหาด้านไฟฟ้าอย่างรุนแรงจน ทำให้ต้องกราวน์ F-35 "AA-1" เครื่องแรกหลังจากการบินทดสอบครั้งที่ 19 เมื่อเดือนพฤษภาคมนั้น วันที่ 7 ธ.ค. ที่ผ่านมา AA-1 ได้กลับขึ้นบินอีกครั้งเพื่อทดสอบระบบต่าง ๆ เป็นเวลา 55 นาที

การ บินในเที่ยวที่ 20 ในครั้งนี้บินโดยหัวหน้านักบิน Jon Beesley ซึ่งทดสอบการบินขึ้นด้วยความเร็วสูง ทดสอบกำลังของเครื่องยนต์ที่ระดับต่าง ๆ ทดสอบการบินที่ความสูง 6,000 ฟุต, 17,500 ฟุต, และ 20,000 ฟุต และทดสอบการปล่อยเชื้อเพลิงทิ้งที่ความเร็ว 250 น็อต

สำหรับการบิน ทดสอบเที่ยวต่อไปจะทำการทดสอบการเติมน้ำมันกลางอากาศ และการบินทดสอบที่ความเร้วเหนือเสียงจะกระทำในปีหน้า รวมถึงเครื่องบินต้นแบบของ F-35B ซึ่งจะถูกผลิตเสร็จสมบูรณืในวันที่ 18 ธันวาคมนี้ น่าจะพร้อมขึ้นบินได้ในเดือนพฤษภาคมปี 2008

ทั้งนี้ โครง JSF ประสบปัญหาทั้งความล่าช้าและปัญหาด้านเทคนิค ทำให้ต้องเลื่อนกำหนดการในการเข้าประจำการออกไป และข้อขัดแย้งในการถ่ายทอดเทคโนโลยียังสร้างความไม่พอใจให้กับประเทศที่ร่วม พัฒนา ซึ่งอาจจะพิจารณาไม่จัดหา F-35 ไปใช้งาน รวมถึงเริ่มพิจารณาการมองหาเครื่องบินที่อาจจะมาแทดแทน F-35 ซึ่งยังมีความเสี่ยงที่โครงการจะประสบความล้มเหลวอยู่

0 ความคิดเห็น: